วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เล่าเฟื่อง เรื่อง "สิ่งพิมพ์"



          วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำจะนองเต็มตะลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง เอ้า!! ลอยลอยกระทง ลอยลอยกระทง ลอยกระทงมาแล้วขอเชิญชาวบล็อกออกมารำวง ฮิ้ววว สุขสันต์วันลอยกระทงค่ะชาวบล็อกที่น่ารักทุกคน วันนี้ถือเป็นวันสุดพิเศษวันหนึ่งเลย เพราะว่าวันลอยกระทงเป็นวัฒนธรรมดึกดำบรรพ์(เก่าแก่)ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตาทวดของเรา  เอ๋!! ว่าแต่ชาวบล็อกเคยสงสัยกันมั้ยคะว่าทำไมจึงต้องลอยกระทง คำตอบก็คือการลอยกระทงนั้นถือเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อขอขมาพระแม่คงคาไงล่ะคะ แล้ววันนี้ใครไปลอยกระทงมากันมั่งเอ่ย?? ส่วนตัวผู้เขียนนั้นไปลอยมาเรียบร้อยแล้ว กระทงคงจะหลงทางหารักไม่เจอไปแล้ว เพราะลอยคนเดียวเปล่าเปลี่ยวหัวใจในสไตล์สาวโสดค่ะ ขอฉลองในความโสดของตัวเอง ฮิ้วววว 555  ตั้งสติหนอ สติหนอ หยุดเพ้อหนอ ก่อนที่ตัวผู้เขียนจะพร่ำเพ้อนอกเรื่องไปมากกว่านี้ขอเข้าเรื่องสาระดีดีที่นำมาฝากชาวบล๊อกกันดีกว่าค่ะ
 
 
          เชื่อว่าในชีวิตประจำวันของทุกคนคงเคยเห็นสื่อสิ่งพิมพ์มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะตามถนนหนทาง ห้างสรรพสินค้า และสวนสาธารณะ ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามความคิดของผู้คนส่วนใหญ่ก็จะหมายถึง ผลิตผลที่เกิดขึ้นมาจากกระดาษ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ แผ่นพับ นิตยสาร และวารสาร เป็นต้น แต่แท้จริงแล้วสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เป็นผลิตผลที่เกิดขึ้นมาจากกระดาษเพียงเท่านั้น แต่สื่อสิ่งพิมพ์เกิดมาจากผลิตผลที่มากกว่านั้นไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ผ้า การพิมพ์เหรียญ และการพิมพ์โลโก้สินค้า เป็นต้น
          กล่าวโดยสรุปนะคะว่า “สื่อสิ่งพิมพ์” ก็หมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆ ด้วยกรรมวิธีการต่างๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือนต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมาก เพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้ผู้อื่นได้เห็นหรือทราบข้อความต่างๆค่ะ
 

 
          ชาวบล็อกทุกคนคงได้ทราบ และเข้าใจความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์กันไปแล้ว ที่กล่าวถึงความหมายไปข้างต้นนั้นก็เพื่ออยากที่จะให้ชาวบล๊อกได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เราส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดกันมาตลอด และในวันนี้ผู้เขียนก็นำสื่อสิ่งพิมพ์ที่ประทับใจตั้งแต่แรกพบสบตา(เว่อร์ไปนิด) มาฝากชาวบล็อกกัน สื่อสิ่งพิมพ์ชิ้นนี้เกี่ยวกับน้ำ ซึ่งเหมาะเจาะกับวันลอยกระทงพอดีเป๊ะ ไปดูกันเลยค่ะว่าสื่อชิ้นนี้คืออะไร
 
 
 
 
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง The imposible
           ภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวกับน้ำค่ะ 555 ที่เกี่ยวก็เพราะว่าเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติสุดช็อกโลกที่ไม่มีใครอยากเจออย่าง สึนามิที่ซัดถล่มประเทศไทยเรา โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี 2004 เป็นเหตุให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องราวของครอบครัว ๆ หนึ่งที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยทั้งหมดกำลังเล่นน้ำในสระว่ายน้ำของโรงแรมกันอย่างสนุกสนาน แต่แล้วสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น เพราะช่วงเวลานั้นได้มีคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่จากท้องทะเล โหมตรงมายังโรงแรมที่พวกกำลังพักผ่อนกันอยู่ จึงทำให้ทั้งครอบครัวต้องจมอยู่ใต้คลื่นยักษ์นั้นไปในที่สุด แต่ด้วยเรื่องของโชคชะตาและความโชคดีหลาย ๆ อย่าง จึงทำให้ผู้เป็นแม่สามารถมีชีวิตรอดจากคลื่นยักษ์นั้นได้ แต่หลังจากนั้นเธอเองก็ต้องออกตามหาลูกๆ รวมถึงสามีของเธอ รวมทั้งยังต้องตั้งสติและเตรียมทำใจไว้ล่วงหน้า เพื่อรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอีกด้วย                                                                                                             
          ผู้เขียนเองไม่รู้ตอนจบของเรื่องนี้หรอกนะคะว่าครอบครัวนี้จะมีชีวิตรอดจากภัยพิบัตินี้หมดทุกคนหรือไม่ เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าโรงในวันพรุ่งนี้ค่ะ เลยยังไม่ทราบตอนจบ 555 ส่วนตอนจบนั้นจะเป็นยังไงไม่ใช่ประเด็นสำคัญในวันนี้ สิ่งที่ต้องการจะสื่อให้ชาวบล๊อกได้เห็นก็คือโปสเตอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ระทับใจผู้เขียนอย่างไร
 
 
 
 
          เหตุผลสำคัญที่ชอบโปสเตอร์ของภาพยนตร์เรื่อง The impossible นี้เพราะว่าทุกรูปภาพในโปสเตอร์นั้นสื่อออกมาให้เห็นถึงความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความห่วงใยและความรักของครอบครัวที่มีให้แก่กัน รวมถึงการพลัดพรากจากกันที่สร้างความเศร้าให้แก่ผู้ที่ดูภาพ ความรู้สึกต่างๆทั้งหมดนั้นล้วนสื่อออกมาผ่านรูปภาพได้อย่างชัดเจน จึงทำให้เมื่อมองโปสเตอร์แล้วทำให้เกิดความรู้สึกทั้งประทับใจกับความรัก และรู้สึกเสียใจกับความพลัดพราก จึงทำให้ผู้เขียนประทับใจสุดๆไปเลยค่ะ ว่าแต่จะมีชาวบล๊อกคนไหนเมื่อมองโปสเตอร์แล้วประทับใจเหมือนกันบ้างมั้ยน้า?? 55

 









หมดเวลาแล้วสิ....หมดเวลาแล้วสิ....หมดเวลาแล้วสิ
          หวังว่าสาระดีดีที่นำมาให้ชาวบล็อกได้อ่านกันในวันนี้คงจะสร้างความรู้เพิ่มเติมไม่มากก็น้อย ได้รู้ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์แล้วก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับสื่อสิ่งพิมพ์กันด้วยนะคะ เพราะว่าสื่อประเภทนี้นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในการดำรงชีวิตของเรา ทั้งให้ข่าวสาร ให้ความรู้ ความบันเทิง และเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆอีกด้วย อย่าลืมสำรวจ หรือสังเกตสิ่งพิมพ์ที่อยู่รอบตัว และหยิบขึ้นมาอ่าน-มาดูกันนะคะ วันนี้ขอพักสาระดีดีไว้เท่านี้ก่อน แล้วมาพบกันใหม่ สะวีดัด สวัสดีค่ะชาวบล๊อกทุกคน ^_^ บ้ายบายยยยยยย

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"มาตรวจภายใน" กันเถอะ

 
     

      
          สวัสดีค่ะชาวบล็อกทั้งหลาย ห่างหายการอัพเดทไปเป็นแรมเดือน คิดถึงกันบ้างมั้ยเอ่ย?? 555 แต่การหายตัวไปคราวนี้นะ ไม่เสียเปล่าอย่างแน่นอน วันนี้เลยมีเรื่องดี เรื่องเด็ดมาฝากเหล่าชาวบล็อกกันเช่นเคย                     
         
          เหลียวซ้าย แลขวา แล้วกลับขึ้นไปมองหัวข้อการสนทนาของเราในวันนี้ ที่ว่าด้วยเรื่อง “มาตรวจภายในกันเถอะ” (นิ่งไปสักพัก) ฮั่นแน่..กำลังคิดอะไรอยู่เอ่ย อย่าเพิ่งคิดไปไกล อย่าเพิ่งๆ ไม่ใช่แบบนั้นนะ (ฮา) จากหัวข้างต้นนี้ก็คือ ส่วนหนึ่งของชื่อหนังสือที่จะมาแนะนำให้ชาวบล็อกรู้จักกันในวันนี้

 





          นั่นก็คือหนังสือเรื่อง “ตรวจภายใน” ค่ะ หลายคนอาจจะรู้สึกแปลกใจและงุนงงสงสัยว่าผู้เขียนหนังสือบ้าไปแล้วหรือเปล่า ทำไมตั้งชื่อเรื่องพิกลแบบนี้ เพราะชื่อเรื่องอาจจะส่อในเรื่องสุขอนามัยของสุภาพสตรีไปซะหน่อย 555 แต่ขอยืนยัน นั่งยัน นอนยัน และตีลังกายัน(เริ่มจะเมื่อย) เลยนะคะว่าไม่เกี่ยวกันเลยสักนิดเดียว ถึงตอนนี้ชาวบล็อกอาจสงสัยอีกว่า เอ๋!! แล้วสรุปเนื้อหาหนังสือเล่มนี้มันเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ถ้าไม่ตรวจภายในร่างกายคนแล้วตรวจอะไร คำเฉลยก็คือ สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ชวนคุณตรวจไปด้วยกันคือตรวจว่า “เรากำลังใช้ชีวิตแบบไหน” ต่างหากล่ะ                              


          หนังสือเล่มนี้แต่งโดย “คุณนิ้วกลม”  ขอแนะนำนักเขียนชื่อดังผู้นี้สักหน่อยละกัน(ชอบเป็นการส่วนตัว) จากการอ่านหนังสือของเขาคนนี้เล่มแล้วเล่มเล่า(ก็ประมาณ 4 เล่ม)  เขาคนนี้มีปลายปากกาที่ชวนให้น่าประทับใจเสมอ  
อย่างหนังสือที่นำมาแนะนำในวันนี้ก็ยังคงไม่ทำให้ผิดหวังเช่นเคย มันยอดเยี่ยมมาก จะเห็นได้จากหลายๆบทความของหนังสือเรื่อง “ตรวจภายใน” เล่มนี้นั้น ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ยากในการที่จะเขียนเล่าออกมาให้สนุก แต่พอเรื่องเหล่านี้มาอยู่ในมือของเขา กลับ “เอาอยู่” มันสนุกอย่างน่าทึ่ง ไม่เชื่อก็ลองไปซื้อมาอ่านกันนะคะ(ขายของซะหน่อย) จะมีใครที่เขียนเรื่อง “น้ำปลาพริก พริกน้ำปลา หรือเล่าเรื่องกระแส “ชิมิชิมิ” อย่างชวนคิด หมดจด และกินใจได้เท่าเขาอีก (ไม่มี๊ ไม่มี!!!)         





                                                                                            
          ผลงานจากความช่างคิดนี้ ช่วยสะกิดปลุกผู้อ่านให้ “ตื่น” ขึ้นมาสำรวจ “ตรวจภายใน” ของกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของสังคมโลกยุคดิจิตอล (ซึ่งก็คือยุคปัจจุบันของเราๆนี่เองล่ะคะ) อย่างอาการหิว Like โหย Comment คลั่งสะสม Friend ทุ่มเทอัพ Status บ้าถ่ายรูป กระแสแพลงกิ้ง ชิมิชิมิ ไปจนถึงปรากฏการณ์ในสังคมอย่างการกระหายข่าวดารา การต่อแถวยาวซื้อโดนัท การแจกถุงผ้า การอยู่คอนโดฯ การดูผี รวมถึงเรื่องน่ารักๆ อันได้แก่      ชุดนักศึกษารัดติ้ว สาวแอ๊บแบ๊วบิ๊กอาย นมตู้ม และกิ๊ก!!!! (ฮา)    

          ในหนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหาบางตอนที่ทำให้อดคิดถึงสังคมไทยในภาพรวมไม่ได้ อย่างเช่นบทความเรื่อง “คอนโดฯ คนเดียว” นิ้วกลมกล่าวถึง “ทักษะในการอยู่ร่วมกัน” ภายในบ้านที่หายไปในวิถีชีวิตแบบคอนโดฯ ซึ่งทักษะดังกล่าวน่าจะเป็นคำตอบหนึ่งของปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้ เพราะวิถีชีวิตแบบบ้านนั้นสอนวิธีการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่การอยู่คอนโดฯ คนเดียว “ไม่มีให้” ทางออกของปัญหานี้อาจเริ่มได้โดยการ “ถอนหูฟังของตนเองออกบ้าง ลองยืมหูฟังจากเครื่องของคนอื่นมายัดใส่หูของเรา แล้วลองฟังอย่างตั้งใจ” นั่นคือ “ออกจากโลกของฉันไปอยู่โลกของเธอดูบ้าง” ซึ่ง “จะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่สำคัญ อย่างน้อยก็เข้าใจกันมากขึ้น”                                              

          หรือในบทความ “โลกอินเทอร์เน็ตกว้างหรือแคบ” ที่นิ้วกลมตั้งข้อสังเกตว่า โลกอินเทอร์เน็ตสำหรับบางคนนั้นแคบกว่าโลกความจริงเสียอีก หากเอาแต่อยู่ในพื้นที่เคยชินโดยเลือกอยู่กับคน “คล้ายๆกัน” จนไม่คุ้นเคยกับ                  ความแตกต่างหรือความหลากหลาย “ซึ่งน่าเสียดายแทนบางคนที่เลือกจะมีเพื่อนเพียงบางแบบเท่านั้น”  




                                                                                                                                                    

          หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนมาเพื่อ “ตรวจภายใน” สังคมไทย และ “ตรวจภายใน” จิตใจของตนเอง ซึ่งเมื่อได้อ่านแล้วทำให้เรามองเห็นมุมมองใหม่ และได้แง่คิดในการดำรงชีวิตมากขึ้น

               มีคำพูดหนึ่งที่ คาร์ล ยุง นักจิตวิทยาคนสำคัญได้กล่าวไว้ว่า            
               Who looks outside, dreams; who looks inside, awakes.                                                                
            หากอยากตื่น เราคงต้องตรวจสอบเข้าไป “ภายใน”
            ผู้เขียนบล็อกก็คิดว่า เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว การมองออกไป ข้างนอก” ก็สำคัญไม่แพ้กัน    
 

  

หมดเวลาแล้วสิ
หมดเวลาแล้วสิ
หมดเวลาแล้วสิ......
หวังว่าหนังสือที่เอามาฝากชาวบล็อกกันวันนี้คงจะน่าสนใจไม่น้อย
จนอดใจไม่ได้ที่จะลองอ่านมันสักครั้ง รับประกันเลยว่า "แจ่มว้าว" อย่างแน่นอน 
ตอนนี้ก็สมควรเวลาแห่งการนอนแล้วผู้เขียนบล็อกขอตัวไปซบหมอน นอนเสื่อ กอดหมอนข้างก่อนนะ
(ฝันดีค่ะชาวบล๊อกที่น่ารักทุกคน)